มาตรฐานข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและ/หรือ สอบเทียบ (มอก.- ISO/IEC 17025 : 2005) เป็นมาตรฐานสากลที่เสริมสร้างความเชื่อมั่น ในความสามารถในการทดสอบหรือสอบเทียบของห้องปฏิบัติการ เป็นมาตรฐานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ผลการทดสอบ/สอบเทียบที่มีความเที่ยงตรง แม่นยำ เชื่อถือได้เป็นบรรทัดฐานการวัดและการทดสอบผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ และยังช่วยขจัดอุปสรรคในการกีดกันทางการค้า อันเนื่องมาจากการทดสอบและลดการตรวจซ้ำ จากประเทศคู่ค้า สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้นำมาตรฐานข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและ/หรือสอบเทียบ (มอก.- ISO/IEC 17025 : 2005) มาประกาศใช้ในลักษณะเหมือนกันทุกประการ และได้ส่งเสริมให้มีการนำไปใช้ในห้องปฏิบัติการทั้งของภาครัฐและเอกชน
ISO/IEC ย่อมาจาก The International Organization for Standardization; ISO และ The International Electrotechnical Commission; IEC คือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.17025 (ISO/IEC 17025) ซึ่งเป็นข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการในการดำเนินการทดสอบและ/หรือสอบเทียบ ซึ่งจะประกอบด้วยข้อกำหนดด้านการบริหารงานคุณภาพและข้อกำหนดด้านวิชาการ โดยมาตรฐานนี้สามารถที่จะนำมาใช้ได้กับทุกองค์กรที่มีการดำเนินกิจกรรมการทดสอบและ/หรือสอบเทียบที่เป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025
การเตรียมการเพื่อขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ
ในส่วนของห้องปฏิบัติการทดสอบและ/หรือสอบเทียบที่ต้องการขอรับรองมาตรฐานดังกล่าว จะมีขั้นตอนการเตรียมการเพื่อขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ 9 ขั้นตอน ดังนี้
1. ศึกษาข้อกำหนด มอก.17025 และข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. ให้ความเห็นชอบในการจัดทำระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการโดยผู้บริหาร
3. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการ และเฝ้าระวังระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ
4. กำหนดนโยบายวางแผนสำหรับการจัดทำระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องตามมาตรฐานมอก. 17025
5. ปฏิบัติตามระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ
6. ตรวจติดตามคุณภาพภายใน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนด
7. แก้ไขข้อบกพร่องที่พบจากการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
8. ประชุมทบทวนการบริหารงานของห้องปฏิบัติการ และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ
9. ติดต่อหน่วยงานรับรองห้องปฏิบัติการของ สมอ.
ห้องปฏิบัติการทดสอบและ/หรือสอบเทียบที่ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานตำรวจแล้วจะมีข้อได้เปรียบหลายประการ คือ สามารถเพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานตำรวจให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ทำให้เกิดความมั่นใจคุณภาพและความน่าเชื่อถือในรายงานผลการทดสอบ หรือผลการสอบเทียบจากห้องปฏิบัติการสอบเทียบหรือทดสอบ ทำให้เกิดการยอมรับรายงานผลทดสอบและรายงานผลการสอบเทียบที่ออกโดยห้องปฏิบัติการ
1. ใช้เป็นเกณฑ์สำหรับห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ที่ต้องการแสดงให้เห็นว่า ห้องปฏิบัติการด้านงานตำรวจมีการดำเนินงานด้านระบบคุณภาพ มีความสามารถทางวิชาการ ผลการทดสอบหรือสอบเทียบที่ออกโดยห้องปฏิบัติการเป็นที่เชื่อถือได้ว่าถูกต้องตามหลักวิชาการ
2. ใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการเพื่องานตำรวจทดสอบและสอบเทียบของหน่วยรับรอง
3. ใช้ในการยืนยันและยอมรับความสามารถของห้องปฏิบัติการเพื่องานตำรวจ โดยผู้ใช้บริการห้องปฏิบัติการหรือองค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมาย
หัวข้อ |
รายละเอียดหลักสูตร |
จำนวนชั่วโมง |
|
|
|
ทฤษฎี |
ปฏิบัติ |
1. |
องค์การ ระบบการบริหารและการควบคุมเอกสาร |
3.0 |
|
2. |
ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ (มอก.- ISO/IEC 17025 : 2005) |
3.0 |
|
3. |
วิธีทดสอบ/ สอบเทียบ และการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี |
3.0 |
|
4. |
เครื่องมือและการสอบกลับได้ของการวัด |
3.0 |
|
5. |
การจัดการตัวอย่างทดสอบและสอบเทียบ |
3.0 |
|
6. |
การปรับปรุงคุณภาพผลการทดสอบ สอบเทียบและรายงานผล |
3.0 |
|
|
รวมทฤษฎี-ปฏิบัติ |
18.0 |
|
|
Man-Hours |
18.0 |
-