โรงงานอุตสาหกรรมอาหารในประเทศจำนวนมาก ทำการผลิตเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะเดียวกันการแข่งขันในการผลิตมีมากขึ้น และผู้ซื้อ/ผู้บริโภคคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัย เรียกร้องระบบคุณภาพที่สูงมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
การนำหลักการของการวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤต (Hazard Analysis Critical Control Point: HACCP) ประเมินอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภคในทุกขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหารจึงเป็นการลดหรือป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค อันเนื่องมาจากสิ่งที่ปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การจัดตั้งโปรแกรม HACCP จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถควบคุมปัจจัยที่สำคัญต่าง ๆ และเป็นการประกันคุณภาพให้ถูกต้องตามข้อกำหนดมาตรฐานสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยเป็นที่เชื่อถือในความปลอดภัยและสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้
-
หัวข้อ |
รายละเอียดหลักสูตร |
จำนวนชั่วโมง |
|
ทฤษฎี |
ปฏิบัติ |
||
1 |
บทนำหลักสูตร |
||
|
1.0 |
|
|
|
1.0 |
|
|
2 |
การจัดการโปรแกรมพื้นฐานด้านสุขลักษณะ |
||
2.1 ภาพรวมโปรแกรมพื้นฐานด้านสุขลักษณะเพื่อรองรับระบบ HACCP |
1.0 |
|
|
2.2 การจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวกับการจัดการสุขลักษณะโรงงานอาหาร |
|
||
2.3 การผลิตในขั้นต้น |
3.0 |
|
|
2.4 สถานที่ประกอบการ: การออกแบบและสิ่งอำนวยความสะดวก |
|
||
2.5 การควบคุมการปฏิบัติงาน |
|
||
2.6 สถานที่ประกอบการ : การซ่อมบำรุงและการสุขาภิบาลโรงงาน |
3.0 |
|
|
2.7 สุขลักษณะส่วนบุคคล |
|
||
2.8 การขนส่ง |
|
||
2.9 ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการสร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภค |
|
||
2.10 การฝึกอบรม |
|
||
2.11 การทวนสอบระบบสุขลักษณะโรงงาน |
3.0 |
|
|
3 |
หลักการ HACCP และการประยุกต์ใช้ |
||
3.1 ระบบ HACCP และหลักการเบื้องต้น |
2.0 |
1.0 |
|
3.2 การจัดทำระบบ HACCP และการนำหลักการ HACCP มาประยุกต์ใช้ในโรงงาน |
|||
|
|||
|
|||
|
|||
|
|||
|
|||
|
3.0 |
3.0 |
|
|
|||
|
|||
|
|||
|
3.0 |
3.0 |
|
|
|||
|
1.5 |
1.5 |
|
|
รวมทฤษฎี-ปฏิบัติ |
21.5 |
8.5 |
|
Man-Hours |
30.0 |
-