เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนการบินให้กับบริษัทชั้นนำของโลก เช่น แอร์บัส (Airbus) โบอิ้ง (Boing) และการประกอบชิ้นส่วนบางประเภทให้แก่บริษัทฯ ดังนั้นผู้ประกอบการในประเทศไทยมีศักยภาพทั้งการผลิตชิ้นส่วน การประกอบเครื่องบิน และการซ่อมชิ้นส่วนจำนวนมากกว่า และเนื่องจากในอนาคตยานยนต์ปัจจุบันจะเข้าสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์จำนวนหนึ่งอาจประสบปัญหาจนถึงขั้นต้องปิดตัวลง หากไม่สามารถปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ไม่ได้ ดังนั้นภาครัฐจึงวางแผนการผลักดันให้เกิดการสร้างอุตสาหกรรมการบินใหม่ขึ้นรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีปัญหา อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการบินมีความยากในเรื่องของระบบคุณภาพและการรับรองผลิตภัณฑ์ในการบินเข้มงวดกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ปัญหาในปัจจุบัน คือ อุตสาหกรรมอากาศยานของไทยนับว่าก้าวหน้าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงนับเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องเร่งแก้ไขโดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมระบบการผลิต การทดสอบ (testing) และการรับรอง (certification) ชิ้นส่วนเครื่องบินทั้งเครื่องบินพาณิชย์ขนาดใหญ่และเครื่องบินเล็ก
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจในมาตรฐานและวิธีการทดสอบผลิตภัณฑ์การบินประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรฐาน RTCA-DO160 เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์การบิน เครื่องบิน และใช้ในการแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการทดสอบ เพื่อให้ได้การรับรองผลิตภัณฑ์ต่อไป
หัวข้อ |
รายละเอียดหลักสูตร |
จำนวนชั่วโมง |
|
|
|
ทฤษฎี |
ปฏิบัติ |
1 |
โครงสร้างของมาตรฐาน RTCA-DO160 |
1.0 |
|
2 |
มาตรฐานและการทดสอบผลิตภัณฑ์การบินประเภทไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ |
4.0 |
|
3 |
เงื่อนไขในการพิจารณาและตีความผลการทดสอบ |
1.0 |
|
4 |
แนวทางในการแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการทดสอบ |
4.0 |
|
5 |
การทดสอบชิ้นส่วนการบินตามมาตรฐาน RTCA-DO160ในห้องปฏิบัติการทดสอบ |
|
8.0 |
|
รวมทฤษฎี-ปฏิบัติ |
10.0 |
8.0 |
|
Man-Hours |
18.0 |
-