จากการที่ รัฐบาลไทย มีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย การสร้างฐานการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าให้เกิดขึ้นในประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจึงต้องมีการดำเนินงานอย่างบูรณาการครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างอุปทาน (Supply) มาตรการกระตุ้นตลาดภายในประเทศ (Demand) การเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานรองรับยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้ยานยนต์และชิ้นส่วนมีความปลอดภัยได้มาตรฐาน ส่วนประกอบของรถยนต์ต่าง ๆ เช่น ไฟหน้า ไฟท้าย ระบบเบรก ABS ระบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเครื่องเสียง ระบบควบคุมความเร็ว ฯลฯ ต้องได้เครื่องหมายรับรองสากล เช่น E-mark ก่อนการส่งยานยนต์ยนต์และชิ้นส่วนไปจําหน่ายในต่างประเทศ ผู้ผลิตจะต้องทําการทดสอบรถยนต์เสียก่อน โดยจะแบ่งการทดสอบเป็น 2 ส่วน คือ ผลิตภัณฑ์แบบชิ้นส่วน และรถยนต์ทั้งคัน สําหรับมาตรฐานที่จะใช้เป็น แนวทางสําหรับรถยนต์มีหลายมาตรฐาน เช่น EU Directive 95/54/ec, EMC directive 89/336/EEC มาตรฐาน CISPR25 มาตรฐาน ISO 10605 มาตรฐาน ISO 7637 มาตรฐาน ISO 11452 และ มาตรฐาน CISPR 20 เป็นต้น
เพื่อให้เข้าใจมาตรฐานต่าง ๆ ของชิ้นส่วนรถยนต์ ตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ออกแบบ และผู้ติดตั้งระบบยานยนต์ ทํางานได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน สามารถลดความผิดพลาดต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อความเสียหาย สามารถลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไข และทําให้จัดการระบบของตนได้ดียิ่งขึ้น
หัวข้อ |
รายละเอียดหลักสูตร |
จำนวนชั่วโมง |
|
|
|
ทฤษฎี |
ปฏิบัติ |
1 |
มาตรฐานสําหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์ ISO 11451, ISO 11452, ISO 10605, ISO/DIS 7637, CISPR12, CISPR25, CISPR20 95/54/EC Automotive directive เป็นต้น |
8.0 |
- |
2 |
การทดสอบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ประกอบในยานยนต์ ด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic compatibility) ด้านความปลอดภัย (safety testing) เพื่อขอการรับรองเครื่องหมาย E mark |
8.0 |
8.0 |
3 |
การแก้ไขวงจรอิเล็กทรอนิกส์อิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์ในกรณีไม่ผ่านการทดสอบต่าง ๆ |
4.0 |
4.0 |
|
รวมทฤษฎี-ปฏิบัติ |
20.0 |
12.0 |
|
Man-Hours |
32.0 |
-