การทดสอบผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้าตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประกอบด้วยการทดสอบหลักคือการทดสอบแรงดึง และการทดสอบองค์ประกอบทางเคมี
การทดสอบแรงดึง (Tensile test) เป็นวิธีการทดสอบที่ง่ายที่สุดในทุกวิธีของการทดสอบคุณสมบัติทางกลของวัสดุและนิยมทดสอบกันมาก เพราะสามารถที่จะให้ผลที่เป็นคุณสมบัติทางกลพื้นฐานพอสมควร เช่น ให้ผลเกี่ยวกับ ความต้านทานแรงดึง ความยืดตัว ความเหนียว ความเปราะ และลักษณะการแตกหักของวัสดุ ซึ่งนับว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบและเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งานต่อไป โดยทั่วไปการทดสอบก็ต้องใช้แรงดึงที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอดึงชิ้นทดสอบให้ยืดออก และขาดในที่สุด สำหรับการทดสอบแรงดึงนั้นนิยมทดสอบกับวัสดุที่มีคุณสมบัติเหนียวมากกว่าวัสดุเปราะ
สำหรับการทดสอบองค์ประกอบทางเคมี เทคนิคที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมโลหะและนิยมใช้กันทั่วไปคือ สปาร์กอิมิสชันสเปกโทรเมตรี (spark emission spectrometry) ที่สามารถใช้เพื่อทดสอบโลหะประเภทต่างๆ เพื่อหาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบรองและสารปนเปื้อนได้โดยตรง โดยไม่ต้องมีการย่อยตัวอย่างให้เป็นสารละลายก่อน เทคนิคนี้สามารถให้ผลการทดสอบที่มีความแม่นดี ความเที่ยงสูง และรวดเร็ว สำหรับห้องปฏิบัติการที่เลือกใช้เทคนิคนี้ ผู้ทดสอบและผู้เกี่ยวข้องควรมีความรู้ในหลักการ ความเข้าใจในการใช้ การตรวจสอบสมรรถนะ และการบำรุงรักษาเครื่องมือ พร้อมทั้งสามารถควบคุมคุณภาพของผลการทดสอบ ซึ่งความรู้เหล่านี้จักเป็นประโยชน์อย่างมากหากห้องปฏิบัติการต้องการขอการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตาม ISO/IEC 17025 ต่อไป
1. เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุของเหล็กและเหล็กกล้า รวมไปถึงวิธีการทดสอบสมบัติทางกลเกี่ยวกับการทดสอบแรงดึง สามารถวิเคราะห์ผลที่ได้จากการทดสอบ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้วัสดุ
2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี และหลักการของเครื่องสปาร์กอิมิสชันสเปกโทรมิเตอร์ หลักการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี รวมทั้งการควบคุมคุณภาพของผลการทดสอบ ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้กับงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้อ |
รายละเอียดหลักสูตร |
จำนวนชั่วโมง |
|
|
|
ทฤษฎี |
ปฏิบัติ |
1 |
|
3.0 |
|
2 |
การทดสอบแรงดึงของผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้าที่อุณหภูมิห้อง
|
3.0 |
3.0 |
3 |
การทดสอบทางเคมี
|
6.0 |
3.0 |
|
รวมทฤษฎี-ปฏิบัติ |
12.0 |
6.0 |
|
Man-Hours |
18.0 |
-