ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน การปฏิบัติงานที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย เช่น ปฏิบัติงานในสถานที่ต้องได้ยินเสียงดัง ในพื้นที่ที่มีความร้อนสูง หรือในสถานที่ๆ มีแสงสว่างจ้าจนเกินไป เป็นต้น ล้วนก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ความเครียด และทำลายสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้ เพื่อให้เกิดการตระหนักต่อการปฏิบัติงานดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการประเมินการสัมผัสเสียง สภาพความร้อน และแสงสว่าง นำไปสู่การควบคุมและป้องกันในลำดับต่อไป จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการตรวจวัดและการประเมิน ดังนั้น หลักสูตร “เทคนิคการตรวจวัดและการประเมิน การสัมผัสเสียง สภาพความร้อน และแสงสว่าง” จะทำให้ผู้ผ่านการฝึกอบรม สามารถปฏิบัติงานทดสอบตัวอย่างสภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยและชีวอนามัย โดยเฉพาะตัวอย่างเสียง ความร้อน และแสงสว่าง ได้ตามกฎหมายกำหนด
เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการตรวจวัด และการประเมิน รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจวัดตามมาตรฐานวิธีการตรวจวัด ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและเป็นไปตามกฎหมายกำหนดให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทดสอบการสัมผัสเสียง สภาพความร้อน และแสงสว่าง ในสถานประกอบการ และที่เกี่ยวข้อง
หัวข้อ |
รายละเอียดหลักสูตร |
จำนวนชั่วโมง |
|
|
|
ทฤษฎี |
ปฏิบัติ |
1 |
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง |
1.0 |
|
2 |
การเลือกและเก็บรักษา อุปกรณ์และเครื่องมือ |
0.5 |
|
3
|
การตรวจวัดและประเมินการสัมผัสเสียง - ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสียง - การตรวจวัดเสียง - การประเมินการสัมผัสเสียง |
1.5 |
|
การตรวจวัดและประเมินสภาพความร้อน - ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจวัดและประเมินสภาพความร้อน - การตรวจวัดและประเมินสภาพความร้อนโดยใช้ดัชนี WBGT |
1.5 |
|
|
การตรวจวัดแสงสว่างในที่ทำงาน - การวัดและการคำนวณ - เครื่องวัดแสงสว่างและระดับความเข้มแสงตามกฎหมาย |
1.5 |
|
|
4 |
ปฏิบัติการการตรวจวัดเสียง แสงสว่าง และความร้อน |
|
12.0 |
|
รวมทฤษฎี-ปฏิบัติ |
6.0 |
12.0 |
|
Man-Hours |
18.0 |
-