ปัจจุบัน การติดตามและก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการภาครัฐ สถาบันการศึกษาและภาคการผลิต รวมถึงเพิ่มศักยภาพห้องปฏิบัติการในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของห้องปฏิบัติการทดสอบ ควรนำระบบจัดการที่ได้มาตรฐานสากลมาใช้ มีการควบคุมอันตราย ทั้งทางกายภาพ เคมี หรือชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม ถ้าผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการไม่เข้าใจถึงอันตรายต่างๆ ที่มีอยู่ในสถานที่ทำงาน การทำงานก็จะมีความเสี่ยงสูงและไม่ปลอดภัย ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการลดความเสี่ยงจากอันตรายเหล่านั้น การตรวจสอบสภาพห้องปฏิบัติการเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของการทำงานในห้องปฏิบัติการ ไม่ใช่เพียงป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่างๆ เท่านั้น แต่ช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมมีความเข้าใจถึงอันตรายที่มีอยู่ และสามารถป้องกันตัวเองและผู้อื่นได้ การพัฒนา checklists ที่ใช้ในการตรวจประเมิน (audit) จะทำให้เกิดคำถามต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยภายในห้องปฏิบัติการนั้นๆ และการหาคำตอบจะเป็นสิ่งที่สามารถนำไปใช้ปรับปรุงเพื่อให้ห้องปฏิบัติการมีความปลอดภัยสูงขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้บุคลากรทุกคนตระหนักว่า ความปลอดภัยสูงสุดในสถานที่ทำงานจะสำเร็จ ต้องเป็นผลมาจากความร่วมแรงร่วมใจของผู้ปฏิบัติงานทุกคน
เพื่อเสริมสร้างความรู้ในการพัฒนา checklists สำหรับการตรวจสอบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและสามารถนำ checklist มาใช้ในการตรวจสอบห้องปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยตนเอง
หัวข้อ |
รายละเอียดหลักสูตร |
จำนวนชั่วโมง |
|
|
|
ทฤษฎี |
ปฏิบัติ |
1 |
ความสำคัญของโปรแกรมการตรวจประเมินภายในเพื่อความปลอดภัย ของห้องปฏิบัติการ |
1.5 |
|
2 |
โปรแกรมความปลอดภัยสำหรับห้องปฏิบัติการ
|
1.5 |
|
3 |
การบ่งชี้ ประเมินและควบคุมอันตราย รวมทั้งการใช้พลังงาน - การบ่งชี้อันตราย - การบ่งชี้การใช้และการสูญเสียพลังงาน - การประเมินผลกระทบของอันตรายหรือการสูญเสียพลังงาน |
3.0 |
|
4 |
ภาคปฏิบัติ : การบ่งชี้ ประเมินและควบคุมอันตราย รวมทั้งการใช้พลังงาน และนำเสนอผลงาน |
|
3.0 |
5 |
การจัดทำโปรแกรมการตรวจสอบภายในของห้องปฏิบัติการ |
1.5 |
|
6 |
โครงสร้างของโปรแกรม laboratory internal audit |
1.5 |
|
8 |
องค์ประกอบและการจัดทำ checklists |
1.5 |
|
9 |
ภาคปฏิบัติ : การจัดทำ checklists และนำเสนอผลงาน |
|
3.0 |
10 |
กรณีศึกษา การตรวจประเมินภายในเพื่อความปลอดภัย ของห้องปฏิบัติการ |
1.5 |
|
|
รวมทฤษฎี-ปฏิบัติ |
12.0 |
6.0 |
|
Man-hours |
18.0 |
-