การประเมินคุณภาพอาหารทางประสาทสัมผัสในอาหารโดยมนุษย์ สามารถนำผลการทดสอบมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนานวัตกรรมอาหาร ปรับปรุงคุณภาพอาหารทางด้านประสาทสัมผัส เช่น รสเปรี้ยว หวาน เค็ม ขม อูมามิ กลิ่นกลิ่นรส ความรู้สึกหลังจากการกินอาหาร (After taste) เป็นต้น ซึ่งคุณสมบัติทางประสาทสัมผัสอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสอาหารจึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร อย่างไรก็ตาม การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสโดยมนุษย์มีความแปรปรวนสูง เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อการทดสอบ เช่น อารมณ์ ทัศนคติ สุขภาพ เป็นต้น จึงมีความจำเป็นต้องนำหลักการทางสถิติมาประยุกต์ใช้ในการประมวลผลการทดสอบ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบ นอกจากนี้การควบคุมคุณภาพการทดสอบด้านต่างๆ เช่น บุคลากร สถานที่และภาวะแวดล้อม วิธีทดสอบ การประกันคุณภาพผลการทดสอบ เป็นต้น มีความสำคัญ ห้องปฏิบัติการประเมินคุณภาพอาหารทางประสาทสัมผัสจึงจำเป็นต้องพัฒนาห้องปฏิบัติการให้มีระบบการจัดการที่มีมาตรฐานรองรับ ดังนั้นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนด ISO/IEC 17025: 2017 และเทคนิคในทางปฏิบัติให้กับผู้ทำงานในห้องปฏิบัติการประเมินคุรภาพอาหารทางประสาทสัมผัส จะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้บุคลากรห้องปฏิบัติการสามารถดำเนินการตามมาตรฐานดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านการประเมินคุณภาพอาหารทางประสาทสัมผัสให้สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025
หัวข้อ |
รายละเอียดหลักสูตร |
จำนวนชั่วโมง |
|
|
|
ทฤษฎี |
ปฏิบัติ |
1 |
ข้อกำหนดการขอรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบทางประสาทสัมผัสตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017 |
1.5 |
|
2 |
ข้อกำหนดขอรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบทางประสาทสัมผัสเพิ่มเติมด้านบุคลากร ผู้ประเมินการทดสอบ สถานที่และภาวะแวดล้อม เครื่องมือ การจัดการตัวอย่างทดสอบ และการรายงานผลทดสอบ |
1.5 |
|
3 |
- เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทดสอบทางประสาทสัมผัสที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017 - ฝึกปฏิบัติวิธีการประเมินคุณภาพอาหารทางประสาทสัมผัส |
|
3.0 |
4 |
วิธีการทดสอบทางประสาทสัมผัส Triangle test ตามมาตรฐาน ISO 4120: 2004 และฝึกปฏิบัติการจัดทำเอกสารระบบคุณภาพ |
1.5 |
1.5 |
5 |
วิธีการทดสอบทางประสาทสัมผัส Descriptive test ตามมาตรฐาน ISO และฝึกปฏิบัติการจัดทำเอกสารระบบคุณภาพ |
1.5 |
1.5 |
6 |
การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี และฝึกปฏิบัติการจัดทำเอกสารระบบคุณภาพ |
1.5 |
1.5 |
7 |
การประกันคุณภาพผลการทดสอบ และฝึกปฏิบัติจัดทำเอกสารระบบคุณภาพ |
1.5 |
1.5 |
|
รวมทฤษฎี-ปฏิบัติ |
9.0 |
9.0 |
|
Man-Hours |
18.0 |
-