ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย พ.ศ. 2555 กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย มีหน้าที่ต้องสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายในรูปแบบของฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายนั้นๆ ได้อย่างปลอดภัย โดยให้ดำเนินการตามข้อกำหนดซึ่งอ้างอิงตาม Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS), third revised edition, UNITED NATIONS, New York and Geneva, 2009 ประกอบด้วยการจำแนกประเภทสารเคมีตามความเป็นอันตรายทางกายภาพ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม และการสื่อสารความเป็นอันตรายโดยการติดฉลากและการจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัย ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง GHS เพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับระบบ GHS และสามารถดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีได้อย่างปลอดภัย แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และประสบการณ์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานกับสารเคมีได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
หัวข้อ |
รายละเอียดหลักสูตร |
จำนวนชั่วโมง |
|
|
|
ทฤษฎี |
ปฏิบัติ |
1 |
ความเป็นมาและความสำคัญของระบบสากล GHS |
1.0 |
|
2 |
หลักการและเกณฑ์การจำแนกประเภทสารเคมีตามความเป็นอันตรายทางกายภาพ |
1.0 |
|
3 |
หลักการและเกณฑ์การจำแนกประเภทสารเคมีตามความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ |
3.0 |
|
4 |
หลักการและเกณฑ์การจำแนกประเภทสารเคมีตามความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม |
2.0 |
|
5 |
การจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมีเดี่ยวตามระบบสากล GHS |
1.0 |
|
6 |
ภาคปฏิบัติ : การจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมีเดี่ยวตามระบบสากล GHS |
|
2.0 |
7 |
การจำแนกความเป็นอันตรายของสารผสมตามระบบสากล GHS |
1.0 |
|
8 |
ภาคปฏิบัติ : การฝึกปฏิบัติการจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมีผสมตามระบบสากล GHS |
|
2.0 |
9 |
การสื่อสารความเป็นอันตราย : ฉลากและข้อมูลความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี |
2.0 |
|
10 |
ภาคปฏิบัติ : การศึกษาตัวอย่างและการใช้ประโยชน์ของเอกสารข้อมูลความปลอดภัยตามระบบ GHS |
|
3.0 |
|
รวมทฤษฎี-ปฏิบัติ |
11.0 |
7.0 |
|
Man-hours |
18.0 |
-