ในปัจจุบัน มีการใช้สารเคมีในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป โรงเรียน หรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งของภาครัฐ และเอกชน ล้วนต้องสัมผัสกับสารเคมีในทุกๆ วัน ยิ่งเป็นสารเคมีอันตรายด้วยแล้วทุกคนจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับสารเคมีอันตราย จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย และมีความสามารถในการควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตรายที่ใช้งาน เนื่องจากสารเคมีแต่ละชนิดมีความเป็นอันตรายไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นความเป็นอันตรายทางกายภาพ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตรายแต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกันด้วย จึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย การจำแนกประเภทสารเคมีอันตราย การติดฉลากสารเคมี มาตรการการควบคุมและการจัดการสารเคมี รวมทั้งการจัดการของเสียอันตรายจากงานในห้องปฏิบัติการ
เพื่อได้รับความรู้เกี่ยวกับสารเคมีอันตรายมีความสามารถในการควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตรายและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
หัวข้อ |
รายละเอียดหลักสูตร |
จำนวนชั่วโมง |
|
|
|
ทฤษฎี |
ปฏิบัติ |
1 |
ความสำคัญของการควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย
|
1.5 |
|
2 |
การจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมี (GHS classification, Chemical labeling, SDS) |
1.5 |
|
3 |
การควบคุมสารเคมีอันตราย
|
3.0 |
|
4 |
ภาคปฏิบัติ : กรณีศึกษาการควบคุมสารเคมีอันตราย |
|
3.0 |
5 |
การจัดการสารเคมีอันตราย
|
3.0 |
|
6 |
ภาคปฏิบัติ : กรณีศึกษาการจัดการสารเคมีอันตราย |
|
1.5 |
7 |
การจัดการของเสียอันตราย
|
3.0 |
|
8 |
ภาคปฏิบัติ : กรณีศึกษาการจัดการของเสียอันตราย |
|
1.5 |
|
รวมทฤษฎี-ปฏิบัติ |
12.0 |
6.0 |
|
Man-hours |
18.0 |
-