เพื่อเป็นการรองรับอุตสาหกรรมแรงงานที่ต้องการผู้ปฏิบัติงานด้านการสอบเทียบเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ กรมวิทยาศาสตร์บริการจึงได้จัดทำหลักสูตรดังกล่าวเพื่อรองรับบุคลากรที่จะไปประกอบอาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัด ในการสอบมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขามาตรวิทยา โดยหลักสูตรนี้จะมีเนื้อหาสอดคล้องกับสมรรถนะที่ต้องการในการสอบคุณวุฒิวิชาชีพดังกล่าว
มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานสอบเทียบด้านปริมาตรในเรื่องการสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตร การประเมินค่าความไม่แน่นอน การทวนสอบผลการสอบเทียบ การตรวจสอบระหว่างการใช้งาน การประกันคุณภาพผลการสอบเทียบ และข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025 โดยสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสอบมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร ชั้น 3 ได้
หัวข้อ |
รายละเอียดหลักสูตร |
จำนวนชั่วโมง |
|
|
|
ทฤษฎี |
ปฏิบัติ |
1 |
การประเมินค่าความไม่แน่นอน - สถิติที่เกี่ยวข้อง - ประเภทของความไม่แน่นอน - ขั้นตอนการคำนวณค่าความไม่แน่นอน |
3.0 |
2.0 |
2 |
การปฏิบัติตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการสอบเทียบ - ข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025 - ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย |
2.0 |
2.0 |
3 |
การสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตร - การใช้เครื่องมือสำหรับสอบเทียบเครื่องแก้ววัดด้านปริมาตรและการเตรียมความพร้อม - การตรวจสอบประสิทธิภาพและการควบคุมคุณภาพของเครื่องแก้ววัดปริมาตร - วิธีการสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตรและการคำนวณผล - การสอบกลับได้ของเครื่องมือมาตรฐานและเครื่องมือวัดสำหรับการสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตร |
5.0 |
4.0 |
4 |
การทวนสอบผลการสอบเทียบ - การแปลผลการสอบเทียบด้านปริมาตร - การทวนสอบความถูกต้องของเครื่องมือมาตรฐานและเครื่องมือที่ใช้งานสำหรับการสอบเทียบเครื่องแก้ววัดด้านปริมาตร |
1.0 |
1.0 |
5 |
การตรวจสอบระหว่างการใช้งานเครื่องมือมาตรฐานและเครื่องมือที่ใช้งานสำหรับการสอบเทียบเครื่องแก้ววัดด้านปริมาตร |
1.0 |
1.0 |
6 |
การประกันคุณภาพผลการสอบเทียบ |
1.0 |
1.0 |
|
รวมทฤษฎี-ปฏิบัติ |
13.0 |
11.0 |
|
Man-Hours |
24.0 |
-